วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558


  • ความขัดแย้งระหว่างประเทศครั้งสำคัญในช่วงคริสต์ศตวรรษที่  20 เรื่องสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่  2

ความขัดแย้งและความร่วมมือในคริสต์ศตวรรษที่ 20

ความขัดแย้งและความร่วมมือในคริสต์ศตวรรษที่ 20

สงครามโลกครั้งที่ 1

       สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I) 
          เป็นสงครามใหญ่ที่มีศูนย์กลางอยู่ในทวีปยุโรป  ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ถึง 11 พฤศจิกายน ค.ศ.1918 ทุกประเทศมหาอำนาจของโลกพัวพันในสงคราม แบ่งออกเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร (มีศูนย์กลางอยู่ที่ไตรภาคี อันประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย) และฝ่ายมหาอำนาจกลาง (มีศูนย์กลางอยู่ที่ไตรพันธมิตร อันประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการีและอิตาลี)  พันธมิตร ทั้งสองมีการจัดระเบียบใหม่ และขยายขึ้นเมื่อมีชาติเข้าสู่สงครามมากขึ้น ในท้ายที่สุดมีทหารมากกว่า 70 ล้านนาย ซึ่งในจำนวนนี้เป็นชาวยุโรป 60 ล้านคน ถูกระดมเข้าสู่หนึ่งในสงครามครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นี้    สงครามโลกครั้งที่หนึ่งยังนับว่าเป็นความขัดแย้งวงกว้างภายในทวีปยุโรปครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามนโปเลียน    ทหารผู้เข้าร่วมรบเสียชีวิตเกิน 9 ล้านนาย สาเหตุหลักเพราะมีความก้าวหน้าในเทคโนโลยีด้านอำนาจการยิงแต่ความก้าวหน้า ด้านความคล่องตัวตามไม่ทัน เป็นสงครามนี้เป็นสงครามที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์อันดับ ที่หก    สงครามนี้เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บและสูญหาย รวมกันไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคน และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลายอย่าง เช่น การปฏิวัติในชาติที่เข้าร่วมรบ
          เมื่อสงครามยุติ รัฐจักรวรรดิใหญ่สี่รัฐ อันได้แก่ จักรวรดิเยอรมัน ออสเตรีย-ฮังการี รัสเซียและออตโตมัน พ่ายแพ้ทั้งทางการเมืองและทางทหารและได้สิ้นสภาพไป เยอรมนีและรัสเซียสูญเสียดินแดนไปมหาศาล ส่วนอีกสองรัฐที่เหลือนั้นล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิง แผนที่ยุโรปกลางได้ถูกเขียนใหม่โดยมีประเทศขนาดเล็กเกิดใหม่หลายประเทศ สันนิบาตชาติถูก ก่อตั้งขึ้นด้วยหวังว่าจะป้องกันความขัดแย้งเช่นนี้มิให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต ลัทธิชาตินิยมยุโรปเกิดขึ้นหลังสงครามและการล่มสลายของจักรวรรดิทั้งหลาย ผลสะท้อนจากความพ่ายแพ้ของเยอรมนีและปัญหากับสนธิสัญญาแวร์ซาย ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นปัจจัยซึ่งนำไปสู่การปะทุของสงครามโลกครั้งที่สอง

กัฟรีโล ปรินซีปถูกจับกุมทันทีหลังลอบปลงพระชนม์อาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย
 
 
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1
                   สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็คือ การลอบปลงพระชนม์ อาร์คดุยค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์รัชทายาทของบัลลังก์จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี โดยกัฟรีโล ปรินซีป ชาวเซิร์บบอสเนีย ซึ่งเป็นสมาชิกของแก๊งมือมืด และการแก้แค้นของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีต่อราชอาณาจักรเซอร์เบียก็ทำให้ เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ก่อให้เกิดสงครามครั้งใหญ่ปะทุขึ้นในทวีปยุโรป ภายในหนึ่งเดือน ทวีปยุโรปส่วอยู่ในสภาวะสงคราม นมากก็ แต่ความขัดแย้งที่มีมาตั้งแต่การรวมชาติเยอรมนี ตั้งแต่ ค.ศ. 1871 นั้นทำให้ยุโรปต้องอยู่ในสมดุลแห่งอำนาจซึ่งยากแก่การรักษา การแข่งขันทางทหาร อุตสาหกรรมและการแย่งชิงดินแดนก็ทำให้วิกฤตสุกงอมจนกระทั่งปะทุออกมาเป็น สงคราม 
                      สงครามครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ มหาอำนาจไตรภาคี (Triple Entente) ซึ่งเดิมประกอบด้วย ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร จักรวรรดิรัสเซีย รวมไปถึงประเทศอาณานิคมด้วย โดยส่วนใหญ่รัฐที่เข้าร่วมสงครามในภายหลังจะเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร โดยชาติมหาอำนาจที่เข้าสู่สงครามด้วย ได้แก่จักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคม 1914 อิตาลี เมื่อเดือนเมษายน 1915 และสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนเมษายน 1917 และฝ่ายมหาอำนาจกลาง ( Central Powers) ซึ่งเดิมประกอบด้วย จักรวรรดิเยอรมนี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และดินแดนอาณานิคม จักรวรรดิออตโตมานได้เข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางเมื่อเดือนตุลาคม 1914 และบัลแกเรียในอีกปีให้หลัง ระหว่างช่วงสงคราม ประเทศที่วางตัวเป็นกลางในทวีปยุโรป ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สเปนและประเทศตามคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แม้ว่าประเทศเหล่านี้อาจจะเคยส่งเสบียงและยุทโธปกรณ์ไปช่วยเหลือบางประเทศที่รบอยู่ก็ตาม 
                       การสู้รบที่เกิดขึ้นตามแนวรบด้านตะวันตกเกิดขึ้นไปตามระบบสนามเพลาะ และป้อมปราการซึ่งถูกแยกออกจากกันด้วยดินแดนรกร้าง แนวปราการเหล่านี้ตรึงขนานออกไปเป็นระยะมากกว่า 600 กิโลเมตรและเป็นส่วนสำคัญของสงครามสำหรับคนจำนวนมาก ส่วนในแนวรบด้านตะวันออก ที่ราบฝั่งตะวันออกที่กว้างขวางและเครือข่ายทางรถไฟที่จำกัด ทำให้การรบในสนามเพลาะไม่สามารถทำได้ แม้ว่าความรุนแรงของความขัดแย้งในด้านตะวันออกนั้น จะพอ ๆ กับด้านตะวันตกก็ตาม แนวรบตะวันออกกลางและแนวรบอิตาลีก็มีการสู้รบกันอย่างดุเดือดเช่นกัน และการสู้รบก็ยังลุกลามไปยังน่านน้ำ และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ คือการรบกลางอากาศ 
                        สงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝ่ายพันธมิตร และความปราชัยของฝ่ายมหาอำนาจกลาง ภายหลังสงคราม ได้มีการเซ็นสนธิสัญญาจำนวนมาก แต่ที่สำคัญคือ สนธิสัญญาแวร์ซายส์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1919 แม้ว่าฝ่ายเยอรมนีจะยอมสงบศึกไปก่อนแล้วในปี 1918 ผลที่สำคัญอย่างหนึ่งของสงคราม ก็คือการวาดรูปแผนที่ยุโรปใหม่ ประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลางสูญเสียดินแดนของตนเป็นจำนวนมาก และทำให้เกิดประเทศใหม่ขึ้นมาในยุโรปตะวันออก เยอรมนีสูญเสียอาณานิคมโพ้นทะเลทั้งหมด รวมไปถึงการต้องชดใช้ค่าปฏิกรสงครามจำนวนมหาศาล และการต้องทนการถูกตราหน้าว่าเป็นผู้เริ่มสงคราม จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้แตกออกเป็นประเทศเอกราชใหม่ ได้แก่ ออสเตรีย ฮังการี เชโกสโลวาเกีย ยูโกสลาเวีย จักรวรรดิออตโตมานล่มสลาย แผ่นดินเดิมของจักรวรรดินอกจากที่ราบสูงอนาโตเลียได้ถูกแบ่งให้กลายเป็นอาณานิคมของผู้ชนะสงครามทั้งหลาย
                           ส่วนชาวอาหรับเดิมได้กลายเป็นประเทศตุรกี จักรวรรดิรัสเซียซึ่งได้ถอนตัวจากสงครามในปี 1917 ได้สูญเสียดินแดนของตนเป็นจำนวนมากทางชายแดนด้านตะวันตกกลายเป็นประเทศใหม่ ได้แก่ เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย และ โปแลนด์ และได้มีการก่อตั้ง สันนิบาตชาติ เพื่อเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีจุดประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้วยวิธีการทางการทูต สงครามโลกครั้งที่หนึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคระเบียบโลกที่เกิดขึ้นหลังจากสงครามนโปเลียน และยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้น

 

สงครามโลกครั้งที่ 2

สาเหตุของสงคราม 1. ความไม่ยุติธรรมของสนธิสัญญา               ข้อบกพร่องของสนธิสัญญาสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มีสาเหตุมาจากประเทศชนะสงคราม และประเทศที่แพ้สงครามต่างก็ไม่พอใจในข้อตกลง เพราะสูญเสียผลประโยชน์ ไม่พอใจในผลประโยชน์ที่ได้รับ โดยเฉพาะสนธิสัญญาแวร์ซายส์ที่เยอรมันไม่พอใจในสภาพที่ตนต้องถูกผูกมัดด้วยสัญญาและต้องการได้ดินแดน ผลประโยชน์และเกียรติภูมิที่สูญเสียไปกลับคืนมา (ความไม่พอใจของฝ่ายผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อข้อตกลงสันติภาพ โดยเฉพาะสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซายส์)

เงื่อนไขของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เยอรมนีต้องรับผลจากการสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างรุนแรง ดังต่อไปนี้ 
  1. เยอรมนีต้องสูญเสียดินแดนของตนคือ อัลซาสลอเรนให้แก่ฝรั่งเศส ต้องยอมยกดินแดนภาคตะวันออกให้โปแลนด์ไปหลายแห่ง
  2. ต้องยอมให้สันนิบาตชาติเข้าดูแลแคว้นซาร์เป็นเวลา 10 ปี
  3. เกิดฉนวนโปแลนด์ POLISH CORRIDOR ผ่านดินแดนภาคตะวันออกของเยอรมนีเพื่อให้โปแลนด์มีทางออกไปสู่ทะเลบอลติกที่เมืองดานซิก ซึ่งเยอรมนีถูกบังคับให้ยกดินแดนดังกล่าวให้โปแลนด์ เพื่อใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ยังผลให้ปรัสเซียตะวันออกถูกแยกออกจากส่วนอื่นของเยอรมนี ซึ่งฮิตเล่อร์ถือว่าเป็นสิ่งที่เขาไม่อาจยอมรับได้ต่อไป
  4. ต้องสูญเสียอาณานิคมทั้งหมดของตนให้แก่องค์การสันนิบาตชาติดูแลฐานะดินแดนในอาณัติ จนกว่าจะเป็นเอกราช
  5. ต้องยอมจํากัดอาวุธ และทหารประจําการลงอย่างมาก
  6. ต้องชดใช้ค่าเสียหายเป็นจํานวนมหาศาลให้แก่ประเทศที่ชนะสงคราม
2. ความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง ระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการ                    ปัญหาทางการเมือง และเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้หลายประเทศหันไปใช้ระบอบเผด็จการเพื่อแก้ปัญหาภายใน เช่น เยอรมนีและอิตาลี นำไปสู่การแบ่งกลุ่มประเทศ เพราะประเทศที่มีระบอบการปกครองเหมือนกันจะรวมกลุ่มกัน
ความแตกต่างทางด้านการปกครอง กลุ่มประเทศฟาสซิสต์มีความเข้มแข็งมากขึ้น ได้รวมกันเป็น มหาอำนาจอักษะ (Berlin-Rome-Tokyo Axis ) จุดประสงค์แรก คือเพื่อต่อต้านรัสเซีย ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ต่อมาได้ขยายไปสู่การต่อต้านชนชาติยิวและนำไปสู่ความขัดแย้งกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร
3. ลัทธิชาตินิยมในประเทศเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น                   ลัทธิชาตินิยมในช่วงคริสตศตวรรษที่ 20   ซึ่งได้เกิดขึ้นในหลายๆประเทศรวมทั้งเยอรมนีด้วยเป็น ลักษณะของลัทธิชาตินิยมมีลักษณะย้ำการดําเนินนโยบายของชาติของตน การดำรงไว้ซึ่งบูรณภาพของชาติ การเพิ่มอํานาจของชาติ ขณะเดียวกันเน้นความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมของตน มีความพยายามที่จะรักษาและเพิ่มพูนความไพศาล ศักดิ์ศรีและผลประโยชน์ของชาติตนไว้ มีการเน้นความสําคัญของเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ของตน ว่าเหนือเชื้อชาติ หรือเผ่าพันธุ์อื่น

เนื่องจากความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ และเยอรมนีพัฒนาตนเองจนแข็งแกร่งเป็นอาณาจักรเยอรมนีที่ 3 และมีนโยบายบุกรุกดินแดน (นโยบายสร้างชาติภายใต้ระบอบเผด็จการ ฟาสซิสต์ในอิตาลี นาซีในเยอรมันและเผด็จการทหารในญี่ปุ่น)
4. ลัทธินิยมทางทหาร                 ได้แก่ การสะสมอาวุธเพื่อประสิทธิภาพของกองทัพ ทำให้เกิดความเครียดระหว่างประเทศมากขึ้น และเกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน
5. นโยบายต่างประเทศที่ไม่แน่นอนของอังกฤษ                 การใช้นโยบายออมชอมของอังกฤษเมื่อเยอรมนีละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เช่น การเพิ่มกำลังทหารและการรุกรานดินแดนต่างๆ ทำให้เยอรมนีและพันธมิตรได้ใจและรุกรานมากขึ้น
6. ความอ่อนแอขององค์การสันนิบาตชาติ                  เนื่องจากไม่มีกองทัพขององค์การ ทำให้ขาดอำนาจในการปฏิบัติการและอเมริกาไม่ได้เป็นสมาชิกจึงทำให้องค์การสันนิบาต เป็นเครื่องมือของประเทศที่ชนะใช้ลงโทษประเทศที่แพ้สงคราม (ความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตชาติในการเป็นองค์กรกลางเพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศ) และความอ่อนแอของ องค์การสันนิบาตชาติ ที่ไม่สามารถบังคับประเทศที่เป็นสมาชิกและไม่ปฏิบัติตามสัตยาบันได้
7. บทบาทของสหรัฐอเมริกา                 สหรัฐปิดประเทศโดดเดี่ยว สมัยประธานาธิบดีมอนโร ตามแนวคิดในวาทะมอนโร สหรัฐจะไม่แทรกแซงกิจการประเทศอื่นและไม่ยอมให้ประเทศอื่นมาแทรกแซงกิจการของตนเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ประชาชนจึงเลือกพรรคเดโมแครต(Democratic Party)เข้ามาเป็นรัฐบาลปกครองประเทศโดยประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดี รุสเวลท์ ได้รับเลือกต่อกันถึงสี่สมัย ( ค.ศ.1933 – 1945 )
8.สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก                ในช่วงทศวรรษ 1920 – 1930 โดยเฉพาะช่วง ในปี ค.ศ.1929-1931 ( ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 )

เครื่องบินขับไล่อังกฤษสปิตไฟร์ระหว่างยุทธการบริเตน
 ความล้มเหลวจากปฏิบัติการดังกล่าวยุติการรุกของเยอรมนีในยุโรปตะวันตก
 
ชนวนระเบิดของสงครามโลกครั้งที่ 2 
                   ชนวนที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ฉนวนโปแลนด์(Polish Corridor)   มีชาวเยอรมนีอาศัยอยู่มาก เยอรมนีเสียดินแดนส่วนนี้ให้แก่โปแลนด์ตามสนธิสัญญาแวร์ซาย์ และฉนวนโปแลนด์ยังแบ่งแยกดินแดนเยอรมนีเป็นสองส่วน คือส่วนปรัสเซียตะวันตกและปรัสเซียตะวันออก ฮิตเลอร์ ขอสร้างถนนผ่านฉนวนโปแลนด์ไปปรัสเซียตะวันออก อังกฤษและฝรั่งเศสคัดค้าน ฮิตเลอร์จึงยกเลิกสัญญาที่เยอรมนีจะไม่รุกรานโปแลนด์ และทำสัญญาไม่รุกรานกับสหภาพโซเวียต เยอรมนีเริ่มสงครามด้วยการบุกโปแลนด์ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 แบบสายฟ้าแลบ (Blitzkrieg)

                    กองทัพเยอรมนีบุกโปแลนด์เมื่อ 1 กันยายน 1939 เนื่องจากโปแลนด์ปฏิเสธที่จะยกเมืองท่า ดานซิก และฉนวนโปแลนด์ในเยอรมนี อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งมีสัญญาค้ำประกันเอกราชของโปแลนด์ อังกฤษและฝรั่งเศสจึงยื่นคำขาดได้เยอรมันถอนทหารออกจากโปแลนด์ เมื่อฮิตเลอร์ไม่ปฏิบัติตาม ทั้งสองประเทศจึงประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อเริ่มสงครามนั้น ประเทศคู่สงครามแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ
  1. ฝ่ายอักษะ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่น
  2. ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย
                     ต่อมาประเทศต่าง ๆ ก็เข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนสงครามได้แผ่ขยายกลายเป็นสงครามโลก ในปี ค.ศ. 1942 ฝ่ายอักษะ (ญี่ปุ่น เยอรมัน อิตาลี) ได้บุกยึดยุทธภูมิสำคัญคือ รัสเซีย แอฟริกาเหนือ และแปซิฟิก ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเกือบทุกแห่ง โดยเฉพาะญี่ปุ่นซึ่งได้รับชัยชนะมากที่สุดในการยึดครองจักรวรรดิแปซิฟิก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากอาณานิคมของตะวันตกไม่ตกสู้กับญี่ปุ่นเพื่อชาวยุโรป ซึ่งผิดกับญี่ปุ่นที่ถือประโยชน์จากคำขวัญที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย"

                     สำหรับสงครามในโลกตะวันออกนั้นเริ่มต้นขึ้นในราว ค.ศ. 1941 เมื่อญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ ในวันที่ 7 ธันวาคม ปี 1941 สหรัฐอเมริกาจึงประกาศสงครามกับญี่ปุ่น และหลังจากนั้นเพียงไม่กี่วันเยอรมนีและอิตาลีก็ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา เนื่องจากทั้งสองประเทศได้ทำสัญญาพันธมิตรกับญี่ปุ่น จึงเท่ากับเป็นแรงผลักดันให้สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเต็มตัว รวมทั้งประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ต่างประกาศสงครามตามสหรัฐอเมริกาเกือบทั้งสิ้น
ฮิตเลอร์กับมุสโสลินีประกาศ
อักษะต่อกัน ค.ศ. 1935
 
 
เหตุการณ์ของสงครามโลกครั้งที่ 2
  • เยอรมนีโจมตีโปแลนด์ เมื่อ 1 กันยายน 1939
  • วันที่ 3 กันยายน 1939 อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมนี
เยอรมนีทำการลบแบบสายฟ้าแลบ ได้ชัยชนะอย่างรวดเร็ว ได้ดินแดนโปแลนด์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม เดนมาร์ก และฝรั่งเศส โจมตีอังกฤษ รัสเซีย ทางอากาศ ซึ่งเป็นสงครามทางอากาศที่ยิ่งใหญ่ที่สุด สงครามในระยะแรกสัมพันธมิตรแพ้ทุกสนามรบ

อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศเข้าร่วมสงคราม ด้านมหาสมุทรแปซิฟิก ญี่ปุ่นบุกแมนจูเรีย(จีน)ในปี ค.ศ.1931 และเสนอแผนการที่จะสถาปนา “วงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา” เพื่อผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ ญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่ อ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 สหรัฐจึงเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง โดยประกาศสงครามเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร ขณะเดียวกันญี่ปุ่นเปิดสงครามในตะวันออกเฉียงใต้หรือเรียกว่า “สงครามมหาเอเชียบูรพา”

เมื่อเริ่มสงคราม สหรัฐอเมริกาวางตัวเป็นกลาง แต่เมื่อญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ซึ่งเป็นฐานทัพของสหรัฐอเมริกา ในมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1941 สหรัฐอเมริกาจึงเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2 กับอังกฤษและฝรั่งเศส ทำให้ฝ่ายพันธมิตรมีชัยชนะ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1945

ในระยะแรกของสงครามฝ่ายอักษะได้เปรียบอย่างเห็นได้ชัด แต่หลังจากวัน D-Day (Decision - Day) ซึ่งเป็นวันที่สัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่มอร์มังดี (Nomandy)ประเทศฝรั่งเศสด้วยกำลังพลนับล้านคน เครื่องบินรบ 11,000 เครื่อง เรือรบ 4,000 ลำ วิถีของสงครามจึงค่อย ๆ เปลี่ยนด้านกลายเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรได้เปรียบ

การรบในแปซิฟิก ญี่ปุ่นเป็นคู่สงครามกับสหรัฐอเมริกา สงครามก็ยุติลงอย่างเป็นรูปธรรมด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรโดยการทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกชื่อลิตเติลบอย ที่เมืองฮิโรชิมา เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 1945 และลูกที่ 2 ชื่อแฟตแมน ที่เมืองนางาซากิ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1945 และวันที่ 14 สิงหาคม 1945 ประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ เมื่อญี่ปุ่นเซ็นต์สัญญาสงบศึกกับสหรัฐอเมริกาบนเรือรบมิสซูรี ในวันที่ 14 สิงหาคม 1945

การยุติลงของสงครามโลกครั้งที่ 2 
  • สัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่ ชายฝั่งแคว้นนอร์มังดี วัน D-DAY
  • สงครามโลกในยุโรปสิ้นสุดลงเมื่อกองทัพสัมพันธมิตรบุกเข้าเบอร์ลินในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1944
  • เมื่อสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและเมืองนางาซากิ ในวันที่ 6และ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945
ใน ค.ศ. 1943 สัมพันธมิตรได้ประชุมกันที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ประเด็นสำคัญของการประชุมคือ กองกำลังของสัมพันธมิตรจะบุกเข้าไปถึงใจกลางของเยอรมนีและทำลายกองทัพเยอรมนีลงให้ได้ โดยมีนายพลไอเซนเฮาว์ (Eisenhower) เป็นผู้บัญชาการของสัมพันธมิตรในยุโรปตะวันตก การปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (Operation Overlord) นับเป็นการบุกฝรั่งเศสครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ ฝ่ายสัมพันธมิตรประกอบด้วยทหารสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา และฝรั่งเศส จำนวน 155,000 คน บุกขึ้นฝั่งนอร์มังดี ทางเหนือของฝรั่งเศส ในวันที่ 6 มิถุนายน 1944 เรียกว่าวัน D – Day (Decision Day)
ผลของสงครามโลกครั้งที่สอง 
  1. มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ(UN : United Nations)เพื่อดำเนินงานแทนองค์การสันนิบาตชาติ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสันติภาพของโลกและให้กลุ่มสมาชิกร่วมมือช่วยเหลือกัน และสนับสนุนสันติภาพของโลก รวมทั้งการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ซึ่งนับว่ามีความเข้มแข็งกว่าเดิม เพราะสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งและมีกองทหารของสหประชาชาติ 
  2. ทำให้เกิดสงครามเย็น(Cold War)ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้น ประเทศสหภาพโซเวียต(USSR) ปกครองโดยสมัยสตาร์ลินมีนโยบายขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่ ยุโรปตะวันออก และเยอรมนีตะวันออก ซึ่งมีทหารรัสเซียเข้าปลดปล่อยดินแดนเหล่านี้จากอำนาจฮิตเลอร์ในสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะที่สหรัฐต้องการสกัดกั้นการขยายตัวดังกล่าว และเผยแผ่การปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะดินแดนอาณานิคมที่ประกาศเอกราช เป็นประเทศใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จนเกิดสภาวการณ์ที่เรียกว่า สงครามเย็น( Cold War ) 
  3. ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ มีการนำอาวุธที่ทันสมัยและระเบิดปรมาณูมาใช้ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 
  4. การเกิดประเทศเอกราชใหม่ๆ (ประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกต่างประกาศเอกราชของตนเอง ทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชีย และ แอฟริกา และบางประเทศถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เช่น เยอรมนี เกาหลี เวียดนาม 
  5. สภาพเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก 
  6. ความสูญเสียทางด้านสังคมและทางจิตวิทยา 
  7. เกิดมหาอำนาจของโลกใหม่ คือ สหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียต

    หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งยืดเยื้อยาวนานเกือบ 6 ปียุติลง ลัทธิเผด็จการฟาสซิสต์ในอิตาลี นาซีในเยอรมัน และเผด็จการทหารในญี่ปุ่นก็ล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิง ขณะเดียวกัน ตำแหน่งแห่งที่มหาอำนาจของโลกก็มีการปรับเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ในโลกเสรีหรือโลกประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาได้ก้าวขึ้นสู่ความเป็นอภิมหาอำนาจเหนืออังกฤษและฝรั่งเศส มิใช่เพียงเพราะสหรัฐอเมริกามียุทโธปกรณ์ที่ทรงอานุภาพเท่านั้น แต่เพราะอังกฤษและฝรั่งเศสได้รับความบอบช้ำจากผลพวงของสงครามครั้งนี้อย่างมหาศาล จึงไม่อาจจรรโลงโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจเดิมเอาไว้ได้อีกต่อไป

    อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาก็มิได้เป็นอภิมหาอำนาจเดี่ยวโดยปราศจากคู่แข่ง เพราะอีกขั้วหนึ่งสหภาพโซเวียต(USSR)ก็ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งมหาอำนาจในค่ายคอมมิวนิสต์ ทั้งยังเป็นแกนนำในการเผยแพร่อุดมการณ์การเมืองแบบสังคมนิยมออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก 
  8. เกิดการแบ่งขั้วอย่างชัดเจนของสองมหาอำนาจจนนำไปสู่เกิดสงครามเย็นและการแบ่งกลุ่มประเทศระหว่างโลกเสรีประชาธิปไตยกับโลกคอมมิวนิสต์ สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายอุดมการณ์ฟาสซิสต์ทั้งในยุโรปและเอเซีย และได้เกิดอุดมการณ์ใหม่ขึ้นเมื่อมีการเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐ อเมริกาและสหภาพโซเวียต โลกถูกแบ่งแยกออกเป็นสองค่าย กล่าวคือ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำค่ายประชาธิปไตย ส่วนสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำค่ายคอมมิวนิสต์ ต่างฝ่ายต่างพยายามนำเสนอระบบการเมืองที่ตนยึดมั่น เพื่อให้ประเทศอื่น ๆ รับไปใช้เป็นแม่แบบการปกครอง และพยายามแข่งขันกันเผยแพร่อุดมการณ์ทางลัทธิการเมืองของตนในกลุ่มประเทศที่เกิดใหม่หลังสงคราม เงื่อนไขนี้เองจึงก่อให้เกิดการแข่งขัน ขัดแย้งทางอุดมการณ์การเมืองการปกครอง และค่อย ๆ ลุกลาม รุนแรงจนอยู่ในสภาพที่เรียกว่า “สงครามเย็น” (Cold War) 
  9. เกิดปัญหาเกี่ยวกับประเทศที่แพ้สงคราม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดปัญหาขึ้นในกลุ่มประเทศที่แพ้สงคราม เช่น เยอรมนีถูกแบ่งแยกออกเป็นเยอรมนีตะวันตก ให้อยู่ในอารักขาของสัมพันธมิตร ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส ฝ่ายหนึ่ง และเยอรมนีตะวันออกให้อยู่ในความอารักขาของสหภาพโซเวียต จนกระทั่ง ค.ศ. 1949 ฝ่ายสหรัฐอเมริกาได้จัดให้มีการเลือกตั้งเสรีขึ้นในเยอรมนีตะวันตกและตั้งเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ส่วนสหภาพโซเวียตก็ได้จัดตั้งรัฐสภาประชาชนขึ้นในเยอรมนีตะวันออกและปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ จัดตั้งเป็นสาธารณะรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน ทำให้เยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ ซึ่งปัจจุบันได้ตกลงมารวมกันเป็นประเทศเยอรมนีนับแต่ปี 1990 เป็นต้นมานอกจากนี้ญี่ปุ่นที่ถูกยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้มีอำนาจเต็มแต่เพียงผู้เดียวในการวางนโยบายครองญี่ปุ่น แต่ยังคงให้ญี่ปุ่นมีรัฐบาลและมีจักรพรรดิเป็นประมุขของประเทศ สหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนอุดมการณ์ของคนญี่ปุ่นให้หันมายอมรับฟังระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและสันติภาพ ในช่วงที่เกิดสงครามเกาหลีสหรัฐอเมริกาได้เข้าไปช่วยฟื้นฟูพัฒนาเศรษฐกิจญี่ปุ่น และช่วยเหลือให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนเป็นประเทศอุตสาหกรรม จนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน
    - ตามข้อตกลงปอตสดัม ทำให้เยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 4 เขต และถูกยึดครองจากกลุ่มประเทศที่แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ สหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส ฝ่ายหนึ่ง และสหภาพโซเวียต อีกฝ่ายหนึ่ง
    - ความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ของสหภาพโซเวียตกับสหรัฐฯ ส่งผลให้เยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ เยอรมันตะวันตก และเยอรมันตะวันออก 
  10. สหรัฐฯได้เข้าปกครองญี่ปุ่นเป็นเวลานานถึง 6 ปี โดยเข้าร่วมฝ่ายพันธมิตรหลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ในแถลงการณ์ของสหประชาชาติ เมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมฝ่ายพันธมิตรอย่างเป็นทางการจำนวน 26 ประเทศ (แถลงการณ์นี้เป็นพื้นฐานของการก่อตั้งสหประชาชาติในภายหลัง)
  11. ประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมได้รับเอกราช บรรดาดินแดนที่เคยเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตกและญี่ปุ่นต่างก็ทยอยกันได้รับเอกราชและแสวงหาลัทธิการเมืองของตนเอง ทั้งในเอเชีย และ แอฟริกา เช่น ยุโรปตะวันออกอยู่ในค่ายคอมมิวนิสต์ ยุโรปตะวันตกเป็นกลุ่มประชาธิปไตย ส่วนในเอเชียนั้นจีนและเวียดนามอยู่ในค่ายคอมมิวนิสต์ แต่การได้รับเอกราชของชาติต่าง ๆ ได้ก่อให้เกิดปัญหามากมาย เช่น

    เกาหลีภายหลังได้รับเอกราชภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกแบ่งเป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ และได้ทำสงครามระหว่างกัน ค.ศ. 1950 – 1953 โดยเกาหลีเหนือซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและจีนคอมมิวนิสต์เป็นผู้รุกรานเกาหลีใต้ องค์การสหประชาชาติได้ส่งทหารสัมพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐอเมริกาเข้าปกป้องเกาหลีใต้ไว้ได้ จนต่อมาได้มีการลงนามในสัญญาสงบศึกที่หมู่บ้านปันมุนจอมในเขตเกาหลีเหนือ ปัจจุบันเกาหลีเหนือใต้มีแนวโน้มที่จะรวมกันเป็นประเทศเดียวในอนาคต

    เวียดนามต้องทำสงครามเพื่อกู้อิสรภาพของตนจากฝรั่งเศส และถึงแม้จะชนะฝรั่งเศสในการรบที่เดียนเบียนฟูใน ค.ศ. 1954 แต่เวียดนามก็ถูกแบ่งออกเป็นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ทั้งสองประเทศได้ต่อสู้กันเพราะความขัดแย้งในอุดมการณ์ที่แตกต่างกันระหว่างคอมมิวนิสต์กับเสรีประชาธิปไตย ในที่สุดเมื่อสหรัฐอเมริกาผู้สนับสนุนเวียดนามใต้ยุติการให้ความช่วยเหลือและถอนทหารกลับประเทศ เวียดนามก็รวมประเทศได้สำเร็จใน ค.ศ. 1975 ในเวลาเดียวกันลาวและกัมพูชาซึ่งปกครองโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองของเวียดนาม แต่สามารถจัดตั้งรัฐบาลของตนเองได้ในเวลาต่อมา

 
ระเบิดปรมาณูซึ่งถูกทิ้งที่เมืองนะงะซากิ

ไทย กับสงครามโลกครั้งที่ 2 
ทางด้านเอเชีย ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ต่อมา วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 กองทหารญี่ปุ่นก็เข้าเมืองไทย ทางสงขลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ และ สมุทรปราการ ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นก็เข้าโจมตีเกาะฮาวาย, ฟิลิปปินส์และส่งทหารขึ้นบกที่มลายูและโจมตีสิงคโปร์ทางเครื่องบิน

สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939)ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 8 (ขณะนั้นเสด็จประทับอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์) หลวงพิบูลสงคราม(จอมพล ป. พิบูล สงคราม)เป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อเริ่มสงครามนั้นไทยประกาศตนเป็นกลาง แต่ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นนำเรือรบบุกขึ้นชายทะเลภาคใต้ของไทยโดยไม่ทันรู้ตัว รัฐบาลต้องยอมให้ญี่ปุ่นผ่าน ทำพิธีเคารพเอกราชกันและกัน

กลุ่มคนไทยบางส่วนโดยเฉพาะในต่างประเทศไทยได้จัดตั้งขบวนการเสรีไทย (Free Thai Movement) ดำเนินช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตร จึงช่วยให้ไทยรอดพ้นจากการแพ้สงคราม ซึ่งในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942)ไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา แต่ทูตไทยในสหรัฐอเมริกา ที่นำโดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ไม่ยอมรับทราบในการกระทำของรัฐบาล จึงได้ร่วมมือกันตั้งเสรีไทยขึ้นติดต่อกับ นายปรีดี พนมยงค์ ในเมืองไทย เมื่อสงครามสงบในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ไทยประกาศสงครามเป็นโมฆะ ซึ่งสหรัฐอเมริการับรอง ต่อมาไทยได้เจรจาเลิกสถานะสงครามกับอังกฤษ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 และกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489

ความมุ่งหวังที่ญี่ปุ่นจะอาศัยประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังพม่าเพื่อยึดครองอินเดีย ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นเหนือแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อเริ่มสร้างทางรถไฟสายมรณะในเดือนกันยายน พ.ศ. 2485 ทั้งคนงานและเชลยศึกจำนวนหมื่นถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟยาว 415 กิโลเมตร ต้องโหมทำงานตลอดวันตลอดคืน บุกเบิกเข้าไปในป่ากว้างที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายและโรคภัย คนงานและเชลยศึกเหล่านั้นมีทั้งพม่า ชวา มลายู อังกฤษ ออสเตรเลีย ฮอลแลนด์ ต้องประสบความทุกข์ทรมาน เจ็บปวดล้มตายเป็นจำนวนมาก ทางรถไฟพังทลายเพราะน้ำเซาะคันดินและสะพานข้ามแม่น้ำแควถูกระเบิดครั้งแล้วครั้งเล่า จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2486 กองทัพญี่ปุ่นจึงได้ทำพิธีเปิดทางรถไฟสายนี้อย่างเป็นทางการ

สาเหตุที่ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง 
เหตุเพราะเรามีกำลังน้อยเมื่อญี่ปุ่นบุกจึงไม่สามารถต่อต้านได้ และเพื่อป้องกันมิให้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของญี่ปุ่นในด้านเศรษฐกิจและการเมือง

ผลของสงครามต่อไทย คือ 
  1. ไทยต้องส่งทหารไปช่วยญี่ปุ่นรบ
  2. ได้ดินแดนเชียงตุง และสี่จังหวัดภาคใต้ที่ต้องเสียแก่อังกฤษกลับมา แต่ต้องคืนให้เจ้าของเมื่อสงครามสงบลง
  3. เกิดขบวนการเสรีไทย ซึ่งให้พ้นจากการยึดครอง
  4. ไทยได้รับเกียรติเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ
สำหรับประเทศไทยนั้น เราได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเพียงประเทศเดียวในทวีปเอเชียและแปซิฟิกไม่นับรวมญี่ปุ่น ที่เข้าร่วมกับพวกอักษะ สาเหตุการเข้าร่วมนั้น สืบเนื่องมาจากการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกในสมัย รัชกาลที่ 5 ทุกประเทศในฝั่งทะเลแปซิฟิกและทะเลอันดามัน ถูกเป็นเมืองขึ้นกันหมด เหลือแต่ไทยและญี่ปุ่นเท่านั้น และจากการที่สยามโดนยึดดินแดนรอบนอกส่วนต่างๆ (ซึ่งเดิมเป็นของไทย)เช่น เขมร ลาว บางส่วนของพม่า บางส่วนของจีน และส่วนเหนือของมาเลเซีย ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นของสยาม ทำให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมขึ้นมา ประกอบกับเผด็จการจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ต้องการนำส่วนที่เคยเสียไปกลับคืนมา จึงทำให้เราโจมตีอินโดจีนของฝรั่งเศส เราจึงร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่น

มุมมองของญี่ปุ่นต่อไทยสมัยนั้น ถือว่าเราเป็นเมืองที่ค่อนข้างเจริญ และไม่เคยถูกชาวต่างชาติครอบงำเหมือนประเทศหลายๆประเทศในแถบนี้ จึงต้องการให้ไทยเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ เพราะนโยบายของญี่ปุ่นคือ ต่อต้านและขับไล่ชาวตะวันตก ให้ออกไปจากแผ่นดินเอเชียให้หมด ประเทศต่างๆที่เป็นเมืองขึ้นจึงถูกโจมตี

สงครามเย็น

                   สงครามเย็น (ค.ศ. 1945- 1991) คือสงครามที่มหาอำนาจ 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายโลกเสรี นำโดย สหรัฐอเมริกา และฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ นำโดย สหภาพโซเวียต ต่อสู้กันด้วยจิตวิทยา เนื่องจากอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน โดยทั้ง 2 ประเทศมหาอำนาจ แข่งขันกันหาพันธมิตรร่วมอุดมการณ์ การสะสมอาวุธ การแสวงหาความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี และด้านเศรษฐกิจ แม้ทั้ง 2 ประเทศจะไม่ได้ทำสงครามที่สู้รบกันโดยใช้อาวุธขึ้น แต่ก็เกิดสงครามตัวแทนขึ้น อย่างเช่น สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม ภายหลังสงครามเย็นจบลง พร้อมกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ. 1991

ชนวนของสงคราม

                     หลังจากที่โลกกำลังฉลองจากสันติภาพที่มาถึง หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จบไปในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 กลิ่นอายของดินปืนยังไม่ทันจางหาย กลิ่นอายของสงครามครั้งใหม่ก็เริ่มก่อตัวขึ้น


โจเซฟ สตาลิน ผู้นำสหภาพโซเวียต (ค.ศ.1922 – 1953) 

                        โจเซฟ สตาลิน ผู้นำของสหภาพโซเวียต มีความเห็นว่า ลัทธิทุนนิยมของโลกตะวันตกเป็นระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพ และมักแก้ไขปัญหาด้วยการทำสงคราม สตาลิน จึงให้โซเวียตมีกองทัพที่ใหญ่โตต่อไป แม้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 จะจบลงไปแล้วก็ตาม และยังสนับสนุนให้นักวิทยาศาสตร์วิจัยและพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์และขีปนาวุธ อย่างเร่งด่วนเพื่อหวังให้โซเวียตมีกำลังทางการทหารแข็งแกร่งที่สุดในโลก
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียต ได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในยุโรป จนกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกกลายเป็นกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์
 สหรัฐฯ เริ่มรับรู้ถึงทรรศนะของโซเวียต      ค.ศ. 1946 เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในกรีก ระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ และฝ่ายที่สนับสนุนสถาบันกษัตริย์      แฮร์รี เอส. ทรูแมน ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ในขณะนั้น ตัดสินใจให้การช่วยเหลือรัฐบาลกรีก ทั้งการทหาร และเศรษฐกิจ ทำให้คอมมิวนิสต์ไม่สามารถยึดครองประเทศกรีกได้ และในตุรกีเองก็เช่นกัน ภายหลังสหรัฐฯ จึงใช้ “แผนการมาร์แชล” เพื่อช่วยเหลือประเทศในแถบยุโรป ในรูปของเงินดอลลาร์ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ
 
                    โซเวียต และกลุ่มประเทศบริวาร ไม่ยอมรับการช่วยเหลือ ของสหรัฐฯ ตามแผนการมาร์แชล และยังตอบโต้ด้วย “แผนการโมโลตอฟ” หรือ “แผนการโคมีคอน” ซึ่งจะให้การช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจต่อประเทศบริวาร และประเทศที่ไม่มีข้อผูกมัดกับประเทศใด หรืออีกนัยนึงคือประเทศที่ไม่ยอมรับการช่วยเหลือของสหรัฐฯ ทำให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปแบ่งแยกเป็น 2 แนวทาง และทำให้ “สงครามเย็น” ที่มี สหภาพโซเวียต เป็นผู้นำฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ และสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำฝ่ายโลกเสรี เริ่มปรากฏให้เห็นเด่นชัดขึ้น
                    4 เมษายน ค.ศ. 1949 ได้มีการก่อตั้ง “องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ” หรือ “นาโต้” ขึ้น โดยประกอบไปด้วย สมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ หนึ่งในนั้นคือ สหรัฐอเมริกา

    
ธงนาโต้
                   ภายหลังโซเวียตได้ตอบโต้ด้วยการรื้อฟื้นองค์การ “โคมินเทิร์น” หรือ “คอมมิวนิสต์สากล” สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มาเป็นองค์การ “โคมินฟอร์ม” เพื่อต่อต้าน “จักรวรรดินิยมอเมริกา”     โซเวียตได้กล่าวหาว่า “องค์การนาโต้มิได้จัดตั้งมาเพื่อป้องกัน แต่เพื่อเตรียมก่อการสงครามขึ้นใหม่” และได้จัดตั้ง “สนธิสัญญาวอร์ซอ” หรือ “กติกาวอร์ซอ” ขึ้น เพื่อตอบโต้ นาโต้
                  14 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สหภาพโซเวียตจัดตั้ง “สนธิสัญญาวอร์ซอ” เพื่อป้องกันประเทศในกลุ่มของสหภาพโซเวียต โดยมี เยอรมนีตะวันออก โปแลนด์ เชโกสโลวะเกีย ฮังการี บัลแกเรีย โรมาเนีย และแอลเบเนีย เป็นสมาชิก
(ที่มา:http://www.war-world.com)
 
 
ความขัดแย้งสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามเย็นนั้นจะประกอบไปด้วย
 
                ปัญหาความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับเยอรมัน :
                ใน ช่วงที่เยอรมันกำลังจะพ่ายแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงท้ายสงครามโลกครั้ง ที่ 2 ฝ่ายพันธมิตรหลายประเทศพยายามที่จะกรีฑาทัพเข้าสู่เยอรมันทั้งนี้เพื่อถือ โอกาสยึดครองพื้นที่ของเยอรมันเมื่อสงครามโลกยุติลงในการตักตวงผลประโยชน์ จากค่าปฏิกรสงคราม ซึ่งเมื่อสงครามยุติลงมี 4 ประเทศเข้ายึดครองเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ และ สหภาพโซเวียต โดย อังกฤษ ฝรั่งเศส และ สหรัฐฯพยายามที่สถาปนาดินแดนเยอรมันทั้งหมดเข้าด้วยกันแต่สหภาพโซเวียตไม่ ยินยอม จึงทำให้ อังกฤษ ฝรั่งเศส และ สหรัฐฯรวมดินแดนเยอรมันที่ตนเองยึดครองไว้เข้าด้วยกันเป็น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (เยอรมันตะวันตก) ส่วนดินแดนที่สหภาพโซเวียตยึดครองสถาปนาเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน (เยอรมันตะวันออก) เมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2492 (ค.ศ.1949) โดยทั้งสองประเทศแบ่งเมืองหลวงออกเป็นส่วนคือ เบอร์ลินตะวันออก และเบอร์ลินตะวันตก และสิ่งที่ตามมาคือการสร้างกำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall) (ในภาเยอรมันเรียกว่า Berliner Mauer) เป็นกำแพงที่กั้นเบอร์ลินตะวันตก ออกจากเยอรมนีตะวันออกโดยรอบ เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) เพื่อจำกัดการเข้าออกระหว่างเบอร์ลินตะวันออกและตะวันตก โดยกำแพงเบอร์ลินนี้ได้ถูกสร้างไว้เป็นระยะเวลา 28 ปี ก่อนจะทลายลงในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 (ค.ศ.1989) เยอรมันทั้งสองประเทศได้ผนวกเข้าเป็นประเทศเดียวกัน ซึ่งถือกันว่าเป็นการสิ้นสุดยุคสงครามเย็น เพราะกำแพงเบอร์ลินถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็น [6] ในระหว่างที่กำแพงยังตั้งอยู่นั้น มีความพยายามหลบหนีข้ามเขตแดนราว 5,000 ครั้ง มี 192 คนถูกฆ่าระหว่างการหลบหนี และอีกประมาณ 200 คนบาดเจ็บสาหัส ในช่วงแรกนั้น การหลบหนีเป็นไปอย่างไม่ยากนัก เนื่องจากกำแพงในช่วงแรกเป็นเพียงรั้วลวดหนามเตี้ย ๆ และบางส่วนก็กระโดดออกมาทางหน้าต่างของตึกที่อยู่ติดกับกำแพง แต่ไม่นานนักกำแพงก็เปลี่ยนเป็นคอนกรีตที่แน่นหนา ส่วนหน้าต่างตึกต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกำแพงก็ถูกก่ออิฐปิดตาย [7]
* สงครามเกาหลี: เมื่อ สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง เกาหลีเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศโดยใช้เส้นขนานที่ 38 เป็นเส้นแบ่งเขต โดยเกาหลีเหนือเป็นประเทศที่ปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ ส่วนเกาหลีใต้ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ต่อมาเมื่อ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 (ค.ศ.1950) ได้เกิดสงครามเกาหลีขึ้น เมื่อกำลังทหารเกาหลีเหนือทำการรุกข้ามเส้นขนานที่ 38 ลงมา และเมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2493 (ค.ศ.1950) สามารถยึดกรุงโซลได้ สหประชาชาติได้มีมติให้นำกำลังทหารเข้าช่วยเกาหลีใต้ ภายใต้การนำของสหรัฐฯ (มีกำลังทหารจากประเทศไทยเข้าร่วมด้วย) เมื่อกำลังสหประชาชาติเข้าไปช่วยเหลือเกาหลีใต้ ทำให้จีนเคลื่อนย้ายกำลังพลเข้สู่พื้นที่การรบตามมา ในสงครามเกาหลีตลอดห้วงเวลาร่วม 3 ปีที่แต่ละฝ่ายทำการรบกันคือตั้งแต่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) ถึง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) นั้น หลังจาก นับตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2494 (ค.ศ. 1951) [8] เป็นต้นมา การสู้รบด้วยกำลังทหารขนาดใหญ่แทบจะไม่เกิดขึ้นอีก ทำให้มีความพยายามที่จะเจรจาสงบศึกกันของทั้งสองฝ่าย โดยการเจรจายุติสงครามครั้งแรกเกิดขึ้นที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในเมืองเคซอง เมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2494 (ค.ศ. 1951) ต่อมาได้ย้ายไปเจรจากันที่ ตำบลปันมุมจอม (Punmumjom) ข้อตกลงสงบศึกที่ปันมุมจอมนี้เป็นผลจากการเจรจาที่ยืดเยื้อถึง 255 ครั้ง ใช้เวลา 2 ปี 17 วัน[9] ในสงครามเกาหลีนี้ มีผู้สูญเสียจากการรบกว่า 4 ล้านคน ทั้งทหารและพลเรือน [10]
* สงครามในอินโดจีน: สถานการณ์ ในอินโดจีนในห้วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 จวบจนสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงนั้นมีความร้อนแรงไม่แพ้ภูมิภาคด้านอื่น ๆ โดยความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในคาบสมุทรอินโดจีนหลัก ๆ จะเป็นประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา ซึ่งเคยเป็นประเทศอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ ประเทศไทยและพม่าก็ยังเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามสถานการณ์ในห้วง สงครามเย็น
- เวียดนาม: สถานการณ์ เริ่มมาจากขบวนการเวียดมินห์ภายใต้การนำของ โฮจิมินห์ ได้เคลื่อนไหวต่อต้านฝรั่งเศสและญี่ปุ่นที่เข้ายึดครองเวียดนามในระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสได้กลับเข้าไปมีอำนาจในคาบสมุทรอินโดจีน ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านฝรั่งเศสอีกครั้ง โฮจิมินห์ได้ร้องขอให้สหรัฐฯช่วยเหลือในการเจรจากับฝรั่งเศสแต่สหรัฐฯได้ นิ่งเฉยเพราะมีความเกรงใจฝรั่งเศส โฮจิมินห์จึงได้เปลี่ยนไปร้องขอความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและจีนแทน ซึ่งก็ได้รับการตอบรับและได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดี และสถานการณ์ในคาบสมุทรอินโดจีนได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้ต่อขบ วนการเวียดมินห์ที่เดียนเบียนฟู [11] ส่งผลให้ เวียดนาม ลาว เขมรได้รับเอกราช และด้วยความพ่ายแพ้นี้เองทำใหฝรั่งเศสต้องถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้ สหรัฐฯ จึงได้ถือโอกาสนี้เข้ามามีบทบาทแทนฝรั่งเศสในภูมิภาคทางเวียดนามใต้นี้
การ เข้าไปมีอิทธิพลในเวียดนามใต้ได้นำไปสู่การเกิดขึ้นของขบวนการ เวียดกง ซึ่งการต่อต้านนี้ได้สถานการณ์ได้ลุกลามไปสู่สงครามจำกัด (Limited War) ที่รู้จักกันในชื่อ “สงครามเวียดนาม” โดยการสู้รบในสงครามเวียดนามได้เปลี่ยนโฉมหน้าของการทำสงครามสมัยใหม่ด้วยบท เรียนราคาแพงของสหรัฐฯ นำมาซึ่งการถอนตัวออกจากภูมิภานี้เมื่อ สหรัฐฯ ไม่สามารถสร้างชัยชนะขึ้นได้ในดินแดนเวียดนาม สหรัฐฯได้ใช้เวลานานหลายปี ใช้กำลังพลมหาศาล กองทัพที่เกรียงไกรมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย แต่สูญเสียกำลังพลเกือบจะ 6 หมื่นคนในขณะที่เวียดนามสูญเสียคนไปหลายล้านคน (ในสงครามเวียดนามไทยสูยเสียทหารไป 351 นาย) [12] ในที่สุดสหรัฐฯได้ถอนกำลังทหารออกไปจากภูมิภาคนี้ด้วยปัจจัยทางการเมืองภาย ในประเทศของตนเอง ทำให้เวียดนามรวมประเทศเวียดนามเหนือและใต้และปกครองภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ ต่อมาในสมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน สหรัฐฯได้ประกาศฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ ฯ และเวียดนามขึ้นอีกครั้ง
- ลาว: หลัง จากฝรั่งเศสได้ถอนตัวไปจากภูมิภาคนี้ไปพร้อม ๆ กับการได้รับเอกราชของลาว แต่สถานการณ์ไม่ได้สงบเรียบร้อยตามมาเมื่อ ขบวนการกู้ชาติที่มีความนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ ไม่ยอมรวมกับฝ่ายรัฐบาลที่นิยมประชาธิปไตย (เป็นรัฐบาลที่ฝรั่งเศสได้จัดตั้งก่อนจะถอนทหารออก) เลยส่งผลให้สงครามในลาวที่ต่อสู้เพื่อเอกราชเปลี่ยนสถานภาพไปสู่สงคราม ระหว่างลัทธิ โดยสหรัฐฯได้ให้การสนับสนุนฝ่ายรัฐบาล ในขณะที่ฝ่ายขบวนการกู้ชาติได้รับการสนับสนุนจากพวกเวียดมินห์ แต่ฝ่ายรัฐบาลได้พ่ายแพ้เมื่อสหรัฐฯถอนกำลังออกจากภูมิภาคนี้ ฝ่ายลาวสูญเสียไปประมาณ 5 หมื่นคน
- กัมพูชา:เมื่อ กัมพูชาได้รับเอกราชหลังจากความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในเดียนเบียนฟู ได้ดำเนินนโยบายเป็นกลางเพื่อเอาตัวรอดจากสถานการณ์รอบ ๆ ประเทศพร้อม ๆ กับรับการช่วยเหลือจากทุกฝ่ายทั้งโลกประชาธิปไตยและโลกคอมมิวนิสต์ ต่อมาเมื่อสหรัฐฯไม่สามารถควบคุมการดำเนินการต่างของเจ้าสีหนุในขณะนั้นได้ ทำให้สหรัฐฯสนับสนุนให้มีการปฏิวัติรัฐประหารขึ้น ทำให้เจ้าสีหนุลี้ภัยไปกรุงปักกิ่งและจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นและร่วมมือ กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่รู้จักกันในชื่อ “เขมรแดง (Khmer Rouge) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “พรรคคอมมิวนิสต์เขมร” (Khmer Communist Party) หรือ “กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย” (National Army of Democratic Kampuchea) คือ พรรคการเมืองกัมพูชาที่นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ ปกครองราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2522 [13] ในที่สุดเมื่อสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้รัฐบาลกัมพูชาได้พ่ายแพ้ต่อเขมรแดงและกัมพูชาได้ เปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นระบอบสังคมนิยม ในความขัดแย้งนี้มีผู้เสียชีวิตระหว่างสงครามกว่า 7 หมื่นคน และเสียชีวิตเมื่อเขมรแดงที่นำโดยนายพลพต เข้ายึดครองกัมพูชาอีกกว่า 1.5 ล้านคน
- ไทย: ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นแนวความคิดในเรื่องของการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ได้เริ่มแพร่หลายเข้ามา ยังประเทศไทย เมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2485 พรรคคอมมิวนิสต์ไทยได้ถือกำเนิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์คือ “ต่อต้านญี่ปุ่นโดยประสานกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน” เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงการเคลื่อนไหวของพรรคมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มแรกเดิมทีได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามต่อมาได้รับการสนับสนุนจาก ประเทศจีน การขยายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้ส่งผลให้การดำเนินการของรัฐบาลในสมัยนั้นทำการปราบปรามอย่างรุนแรง มีการออกกฏหมายคือ “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์” ซึ่งมีโทษที่รุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต เมื่อ 6 กรกฎาคม 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้สั่งประหารชีวิต นายศุภชัย ศรีสติ ข้อมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และด้วยการปราบปรามอย่างหนักนี้เองได้ส่งผลให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ นำไปสู่ขั้นการทำสงครามปฏิวัติในที่สุด เมื่อ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ได้เกิดการปะทะที่หมู่บ้านนาบัว ต.เรณู อ.ธาตุพนม จังหวัด นครพนม ระหว่างกำลังติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับตำรวจส่งผลให้ เกิดการสูญเสียทั้ง 2 ฝ่าย การเริ่มขั้นสงครามปฏิวัติในครั้งนี้รู้จักกันในนาม “วันเสียงปืนแตก”
เมื่อ การปราบปรามคอมมิวนิสต์ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องทำให้มีผู้คนการหลบหนี เข้าป่าเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อย ทำให้การต่อสู้ขยายตัวออกเป็นวงกว้าง เมื่อสหรัฐฯถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้ทำให้หลายฝ่ายมีความเชื่อประเทศไทยจะรอด พ้นจากการล้มล้างระบอบการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ เพราะตั้งแต่การถอนตัวออกจากเวียดนามของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาถอน กำลังหน่วยสุดท้ายออกจากเวียดนามใต้เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2516 ต่อมาเมื่อ 1 มกราคม 2518 กรุงพนมเปญเมืองหลวงของเขมร ตามมาด้วยกรุงไซ่ง่อน เมืองหลวงของเวียดนามใต้ แตกเมื่อ 30 เมษายน 2518 และกรุงพนมเปญได้แตกอีกครั้ง เมื่อ พล.อ.เทียนวันดุง ของเวียดนามได้นำกำลังกว่า 20 กองพล เข้ายึดเขมร เมื่อ 7 มกราคม 2522 หรือที่รู้จักกันในนาม ยุทธการบัวบาน และนักการทหารหลายคนมีความเชื่อว่า หลังจากเขมรแตกแล้วมีความเป็นไปได้ที่เวียดนามจะทำการรุกต่อมายังไทย การที่ประเทศต่าง ๆ แตกกันเป็นทอด ๆ นี้เองทำให้มีนักวิชาการไปกำหนดเป็นแนวคิดที่เรียกว่าทฤษฏีโดมิโน โดยประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในความเชื่อที่ว่าจะแตกเป็นประเทศต่อไปในแนวคิดของ ทฤษฏีโดมิโน เพราะกำลังพลมหาศาลของเวียดนามที่เคลื่อนเข้ามาประชิดชายแดนไทย ทำให้เป็นการยากที่ประเทศไทยจะต้านทาน [14]
ใน ที่สุดรัฐบาลได้อาศัยความร่วมมือกับประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ในการปราบ คอมมิวนิสต์ในประเทศ ซึ่งประเทศนั้นคือประเทศจีน เป็นที่ทราบกันดีว่าการก่อความไม่สงบไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใดจะสามารถดำเนิน การต่อไปได้จะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้ให้การสนับสนุน และในยุคนั้นจีนสามารถกล่าวได้ว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนรายใหญ่ของพรรค คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เมื่อประเทศไทยสามารถเจรจาขอให้จีนยุติการสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทยได้ ประเทศไทยเริ่มดำเนินการกดดันโดยใช้กำลังทหารอย่างหนัก พร้อมทั้งออกนโยบายรองรับให้ผู้หลงผิดวางอาวุธกลับมาเป็นผู้พัฒนาชาติไทย และนโยบายดังกล่าวคือ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 66/23 เรื่อง นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ และ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 65/25 เรื่อง แผนรุกทางการเมือง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้นำพาประเทศไทยไปสู่บรรยากาศแห่งความปรองดองแห่ง ชาติในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น